ตรุษจีน เป็นเทศกาลที่สำคัญที่สุดของจีน เพราะชาวจีนถือว่า วันตรุษจีน คือวันขึ้นปีใหม่ตามปฎิทินจีน เช่นเดียวกับสงกรานต์วันปีใหม่ไทย ดังนั้นชาวจีนจึงให้ความสำคัญกับเทศกาลนี้เป็นอย่างยิ่ง และมีการเฉลิมฉลองทั่วโลกโดยเฉพาะชุมชนขนาดใหญ่ของคนเชื้อสายจีน ซึ่งในแต่ละพื้นที่ก็จะมีพิธีเฉลิมฉลองแตกต่างกันไป สำหรับปี 2555 นี้ วันตรุษจีนตรงกับวันที่ 23 มกราคม
สำหรับที่มาของ วันตรุษจีน นั้น เชื่อกันว่าประเพณีนี้มีมานานกว่าสี่พันปีแล้ว จัดขึ้นเพื่อฉลองเทศกาลฤดูใบไม้ผลิ เดิมที่ไม่ได้เรียกว่าเทศกาลตรุษจีน แต่มีชื่อเรียกต่างกันตามยุคสมัย นั่นคือเมื่อ 2100 ปีก่อนคริสตศักราชจะเรียกว่า "ซุ่ย" ซึ่งมีความหมายถึงการโคจรครบหนึ่งรอบของดาวจูปิเตอร์ จนกระทั่งต่อมาในยุค 1000 กว่าปีก่อนคริสตศักราช เทศกาลตรุษจีนจะถูกเรียกว่า "เหนียน" หมายถึงการเก็บเกี่ยวได้ผลอุดมสมบูรณ์นั่นเอง
นอกจากนี้ วันตรุษจีน ยังมีชื่อเรียกอีกอย่างหนึ่งว่า "วันชุงเจ๋" ซึ่งหมายถึงเทศกาลดูใบไม้ผลิ หรือขึ้นปีเพาะปลูกใหม่ เพราะช่วงก่อนตรุษจีนนั้นตรงกับฤดูหนาว ไม่สามารถทำการเกษตรได้ ดังนั้นเมื่อเข้าสู่ฤดูใบไม้ผลิที่มีอากาศเหมาะสมแก่การเพาะปลูก ชาวจีนจึงสามารถทำนา ทำสวน ได้อีกครั้งหลังจากผ่านพ้นฤดูหนาวมานั่นเอง
ส่วนการกำหนด วันตรุษจีน นั้น ตามประเพณีเทศกาลตรุษจีนจะเริ่มตั้งแต่วันที่ 23 เดือน 12 ตามปฏิทินจันทรคติของจีน ไปจนถึงวันขึ้น 15 ค่ำเดือนอ้ายตามปฏิทินจันทรคติของจีน และถือว่าคืนวันที่ 30 เดือน 12 เป็นวันส่งท้ายปีเก่า ส่วนวันที่ 1 เดือน 1 คือวันชิวอิก หมายถึงวันแรกของฤดูใบไม้ผลิ
การเตรียมงานเพื่อการเฉลิมฉลองเทศกาลตรุษจีนนั้น จะเริ่มขึ้นตั้งแต่หนึ่งเดือนก่อน วันตรุษจีน (คล้ายกับวัน คริสต์มาสของประเทศตะวันตก) โดยผู้คนจะเริ่มซื้อข้าวของต่างๆ เพื่อประดับตกแต่งบ้านเรือน และเตรียมทำความสะอาดครั้งใหญ่ ตั้งแต่ชั้นบนลงชั้นล่าง เนื่องจากมีความเชื่อว่าจะเป็นการปัดกวาดสิ่งที่ไม่ดีออกไป ภายในบ้านทั้งประตู หน้าต่าง จะประดับประดาไปด้วยสีแดง และกระดาษสีแดงที่มีคำอวยพรให้อายุยืน ร่ำรวย อยู่ดีมีสุข ฯลฯ
จากนั้นครอบครัวจะร่วมรับประทานอาหารที่ล้วนแต่มีความหมายมงคลทั้งสิ้น เช่น กุ้งจะหมายถึงชีวิตที่รุ่งเรืองและความสุข เป๋าฮื้อแห้งหมายถึงทุกสิ่งทุกอย่างที่ดี สลัดปลาสดจะนำมาซึ่งความโชคดี จี้ไช่ (ผมเทวดา) สาหร่าย จะนำความร่ำรวยมาให้ และขนมต้ม (Jiaozi) หมายถึงบรรพชนอวยพร หลังจากทานอาหารค่ำแล้ว ทุกคนในครอบครัวจะนั่งกันจนเช้าเพื่อรอวันใหม่โดยการเล่นเกม เล่นไพ่ หรือดูรายการทีวีที่เกี่ยวกับ วันตรุษจีน และในวันนี้จะต้องไม่โกรธ ริษยา หรือ ไม่พอใจ เพื่อเป็นสิริมงคลที่ดีสำหรับปีที่กำลังจะมาถึง
นอกจากนี้อีกสิ่งหนึ่งที่ถือเป็นสัญลักษณ์ของ วันตรุษจีน คือ "อั่งเปา" ซึ่งมีความหมายว่า "กระเป๋าแดง" หรือจะใช้คำว่า "แต๊ะเอีย" ซึ่งมีความหมายว่า "ผูกเอว" จากที่คนสมัยก่อนชอบร้อยเงินเป็นพวงผูกไว้ที่เอว โดยการให้อั่งเปานี้ คู่แต่งงานจะให้เงินเด็กๆ และผู้ใหญ่ที่ยังไม่ได้แต่งงานในซองสีแดง หลังจากนั้นทุกคน ในครอบครัว จะออกมาจากบ้านเพื่อกล่าวสวัสดีปีใหม่ในหมู่ญาติ และด้วยเพื่อนบ้าน ซึ่งคงคล้ายกับการที่ชาวตะวันตกพูดว่า "Let bygones be bygones" (อะไรที่ผ่านไปแล้วก็ให้มันผ่านไป)
วันจันทร์ที่ 30 มกราคม พ.ศ. 2555
วันกองทัพไทย
๑๘ มกราคม วันกองทัพไทย
ในวันที่ 18 มกราคม 2550 ประกาศเป็นวันกองทัพไทยเป็นปีแรก ซึ่งก่อนหน้านี้คือ“วันยุทธหัตถี” หรือที่เรียกว่า “วันสมเด็จพระนเรศวรมหาราช”
“วันยุทธหัตถี” หรือที่เรียกว่า “วันสมเด็จพระนเรศวรมหาราช” หมายถึง วันที่ระะลึกที่สมเด็จพระนเรศวรมหาราชทรงกระทำยุทธหัตถีมีชัยชนะต่อสมเด็จพระมหาอุปราชาของพม่า เมื่อวันจันทร์ เดือน ๒ แรม ๒ ค่ำ จุลศักราช ๙๕๔ อันตรงกับวันที่ ๑๘ มกราคม พ.ศ. ๒๑๓๕ คณะรัฐมนตรีจึงได้มีมติเมื่อวันที่ ๒๙ พฤศจิกายน พ.ศ.๒๕๔๘ กำหนดให้วันที่ ๑๘ มกราคม ของทุกปีเป็น “วันยุทธหัตถี” (แทนวันที่ ๒๕ มกราคม เนื่องจากนายประเสริฐ ณ นคร ราชบัณฑิต ได้คำนวณแล้วพบว่าการนับวันทางจันทรคติของวันกระทำยุทธหัตถีเดิมที่ตรงกับวันจันทร์ เดือน ๒ แรม ๒ ค่ำ จุลศักราช ๙๕๔ ที่กำหนดเป็นวันที่ ๒๕ มกราคมนั้น คลาดเคลื่อน จึงได้มีการเปลี่ยนใหม่ให้ตรงกับความเป็นจริง) และถือวันนี้เป็นวันรัฐพิธี โดยให้มีการวางพานพุ่มสักการะ แต่ไม่ถือเป็นวันหยุดราชการ ยุทธหัตถี หมายถึง การต่อสู้ด้วยอาวุธบนหลังช้าง เป็นการรบอย่างกษัตริย์สมัยโบราณ ถือเป็นคติมาแต่ดึกดำบรรพ์ว่า ยุทธหัตถีหรือการชนช้างเป็นยอดยุทธวิธีของนักรบ เพราะเป็นการต่อสู้อย่างตัวต่อตัว แพ้ชนะกันด้วยความคล่องแคล่วแกล้วกล้า กับการชำนิชำนาญในการขับขี่ช้างชน โดยมิต้องอาศัยรี้พลหรือกลอุบายแต่อย่างใด เพราะโดยปกติ ในการทำสงครามโอกาสที่จอมทัพทั้งสองฝ่ายจะเข้าใกล้ชิดจนถึงชนช้างกันมีน้อยมาก ดังนั้น กษัตริย์พระองค์ใดกระทำยุทธหัตถีชนะก็จะได้รับการยกย่องว่า มีพระเกียรติยศสูงสุด และแม้แต่ผู้แพ้ก็ได้รับการยกย่องสรรเสริญว่าเป็นนักรบแท้
ในสมัยอยุธยามีการยุทธหัตถี รวม ๓ ครั้ง คือ ครั้งแรกในแผ่นดินสมเด็จพระบรมไตรโลกนาถ พระ อินทราชาพระเจ้าลูกยาเธอได้ชนช้างกับข้าศึกที่นครลำปาง และถูกปืนสิ้นพระชนม์ ครั้งที่สองในแผ่นดินพระมหาจักรพรรดิ ได้ชนช้างกับพระเจ้าแปรกรุงหงสาวดี และสมเด็จพระศรีสุริโยทัย ต้องอาวุธข้าศึกทิวงคต และครั้งที่สาม ก็คือครั้งที่สมเด็จพระนเรศวรมหาราชชนช้างกับพระมหาอุปราชาแห่งกรุงหงสาวดี จนได้รับชัยชนะ ซึ่งยุทธหัตถีครั้งนี้กล่าวกันว่าเป็นครั้งสุดท้ายในประวัติศาสตร์ และเป็นวีรกรรมครั้งสำคัญที่ทำให้พระเกียรติยศของสมเด็จพระนเรศวรมหาราชเป็นที่เลื่องลือไปไกล
หลังจากนั้นเป็นที่น่าอัศจรรย์ว่าไม่มีข้าศึกใดกล้ายกทัพมารุกรานเรานานถึง ๑๕๐ ปี ดังนั้น ในโอกาสครบรอบ ๔๑๕ ปีแห่งวันกระทำยุทธหัตถีจนได้รับชัยชนะ กลุ่มประชาสัมพันธ์ สำนักงานคณะกรรมการวัฒนธรรมแห่งชาติ กระทรวงวัฒนธรรม จึงขอนำพระราชประวัติโดยย่อของสมเด็จพระนเรศวรมหาราชมาเล่าสู่กันฟัง เพื่อเป็นการน้อมรำลึกถึงพระมหากรุณาธิคุณของพระองค์
สมเด็จพระนเรศวรมหาราชทรงเป็นพระมหากษัตริย์ไทยลำดับที่ ๑๘ แห่งราชอาณาจักรศรีอยุธยา เสด็จพระราชสมภพที่เมืองพิษณุโลก เมื่อปีเถาะ พ.ศ. ๒๐๙๘ ทรงมีสมเด็จพระมหาธรรมราชาธิราชเจ้า ซึ่งเป็นพระเจ้าแผ่นดินราชวงศ์สุโขทัยองค์แรกที่ครองกรุงศรีอยุธยาเป็นพระบิดา และมีพระวิสุทธิกษัตรี ผู้เป็นพระราชธิดาของสมเด็จพระมหาจักรพรรดิ และพระสุริโยทัยวีรกษัตรีย์ของไทยเป็นพระมารดา จึงอาจกล่าวได้ว่าสมเด็จพระนเรศวรทรงได้รับพระสายโลหิตความเก่งกล้าสามารถสืบเนื่องมาจากพ่อขุนรามคำแหงมหาราชทางพระชนก และเลือดพระสุริโยทัยซึ่งเป็นสมเด็จพระอัยยิกา(ยาย)ทางพระมารดา ทรงมีพระสุพรรณกัลยา เป็นพระพี่นาง และมีพระเอกาทศรถเป็นพระอนุชา เนื่องจากตลอดระยะเวลาที่เสด็จขึ้นครองราชย์ ๑๕ ปี ตั้งแต่ปีพ.ศ. ๒๑๓๓ จนเสด็จสวรรคตเมื่อวันที่ ๒๕ เมษายน พ.ศ. ๒๑๔๘ ทรงอุทิศเวลาเกือบตลอดรัชสมัยให้กับการศึกสงครามเพื่อเสริมสร้างความมั่นคงและความยิ่งใหญ่ให้กรุงศรีอยุธยาตลอดมา ทำให้ทรงไม่มีพระมเหสีและพระราชโอรสธิดา ดังนั้น เมื่อเสด็จสวรรคต พระเอกาทศรถจึงได้เสด็จขึ้นครองราชย์สืบต่อมา
สมเด็จพระนเรศวรมหาราชเป็นพระมหากษัตริย์ที่ทรงเชี่ยวชาญการรบยิ่ง ทรงฉลาดในการวางแผนยุทธวิธีและอุบายกระบวนศึกที่ไม่เหมือนผู้ใดในสมัยเดียวกัน ทรงเป็นผู้ริเริ่มการรบแบบกองโจร คือ ใช้คนน้อยแต่สามารถต่อสู้กับคนจำนวนมากได้ พระองค์มีความสามารถในการใช้อาวุธที่ทำการรบแทบทุกชนิดอย่างเชี่ยวชาญยากจะหาผู้ใดเสมอเหมือนไม่ว่าจะเป็นปืน ดาบ ทวนหรือง้าว เป็นต้น
ฝีมือการรบของพระองค์นั้นเรียกได้ว่าเก่งกาจจนเป็นที่ครั่นคร้ามแก่ข้าศึกศัตรู ดังปรากฏในพงศาวดารพม่าพอสรุปได้ว่า วันหนึ่งพระเจ้าหงสาวดีนันทบุเรง ทรงตัดพ้อว่า ไม่มีใครที่จะอาสามาสู้รบกับกรุงศรีอยุธยาเลย ทั้งๆที่พระนเรศวรมีรี้พลแค่หยิบมือเดียว แต่ก็ไม่มีใครกล้าไปรบพุ่ง พระยาลอ ขุนนางคนหนึ่ง จึงทูลว่า กรุงศรีอยุธยานั้น สำคัญที่พระนเรศวรองค์เดียว เพราะกำลังหนุ่ม รบพุ่งเข้มแข็งทั้งบังคับบัญชาผู้คนก็สิทธิ์ขาดรี้พลทั้งนายไพร่กลัวพระนเรศวรยิ่งกว่ากลัวความตาย เจ้าให้รบพุ่งอย่างไรก็ไม่คิดแก่ชีวิตด้วยกันทั้งนั้น คนน้อยจึงเหมือนคนมาก ข้อความดังกล่าว เป็นการสะท้อนให้เห็นถึงพระบารมีของสมเด็จพระนเรศวรมหาราชได้อย่างชัดเจนอาจกล่าวได้ว่าตลอดพระชนมชีพของสมเด็จพระนเรศวรมหาราช ไม่เคยทรงอยู่อย่างสะดวกสบายและต้องทรงกระทำการรบมาโดยตลอด กล่าวคือ เมื่อพระชนมายุ ๙ พรรษาก็ต้องไปเป็นตัวประกันที่หงสาวดีอยู่ ๖ ปี ครั้นเสด็จ กลับมากรุงศรีอยุธยาเมื่อพระชนมายุ ๑๕ พรรษา ปีต่อมาพระบิดาก็ส่งไปครองเมืองพิษณุโลก มีอำนาจบัญชาการหัวเมืองฝ่ายเหนือทั้งหมด ได้ทรงจัดฝึกทหารแบบใหม่ พอพระชนมายุ ๑๙ พรรษาทรงยกกองทัพไปพร้อมพระบิดาเพื่อช่วยทัพหลวงกรุงหงสาวดีตีเมืองเวียงจันทร์ ครั้นพระชนมายุ ๒๓ พรรษา ได้ลงเรือไล่ติดตามพระยาจีนตุขุนนางจีนเมืองเขมรที่หนีไป โดยใช้พระแสงปืนยิงต่อสู้ด้วยพระองค์เอง อย่างไม่หวาดหวั่นหรือหลบกระสุนที่ยิงโต้กลับมาเลย จนศัตรูยิงถูกรางพระแสงปืนที่ทรงอยู่แตกไป
ในวันที่ 18 มกราคม 2550 ประกาศเป็นวันกองทัพไทยเป็นปีแรก ซึ่งก่อนหน้านี้คือ“วันยุทธหัตถี” หรือที่เรียกว่า “วันสมเด็จพระนเรศวรมหาราช”
“วันยุทธหัตถี” หรือที่เรียกว่า “วันสมเด็จพระนเรศวรมหาราช” หมายถึง วันที่ระะลึกที่สมเด็จพระนเรศวรมหาราชทรงกระทำยุทธหัตถีมีชัยชนะต่อสมเด็จพระมหาอุปราชาของพม่า เมื่อวันจันทร์ เดือน ๒ แรม ๒ ค่ำ จุลศักราช ๙๕๔ อันตรงกับวันที่ ๑๘ มกราคม พ.ศ. ๒๑๓๕ คณะรัฐมนตรีจึงได้มีมติเมื่อวันที่ ๒๙ พฤศจิกายน พ.ศ.๒๕๔๘ กำหนดให้วันที่ ๑๘ มกราคม ของทุกปีเป็น “วันยุทธหัตถี” (แทนวันที่ ๒๕ มกราคม เนื่องจากนายประเสริฐ ณ นคร ราชบัณฑิต ได้คำนวณแล้วพบว่าการนับวันทางจันทรคติของวันกระทำยุทธหัตถีเดิมที่ตรงกับวันจันทร์ เดือน ๒ แรม ๒ ค่ำ จุลศักราช ๙๕๔ ที่กำหนดเป็นวันที่ ๒๕ มกราคมนั้น คลาดเคลื่อน จึงได้มีการเปลี่ยนใหม่ให้ตรงกับความเป็นจริง) และถือวันนี้เป็นวันรัฐพิธี โดยให้มีการวางพานพุ่มสักการะ แต่ไม่ถือเป็นวันหยุดราชการ ยุทธหัตถี หมายถึง การต่อสู้ด้วยอาวุธบนหลังช้าง เป็นการรบอย่างกษัตริย์สมัยโบราณ ถือเป็นคติมาแต่ดึกดำบรรพ์ว่า ยุทธหัตถีหรือการชนช้างเป็นยอดยุทธวิธีของนักรบ เพราะเป็นการต่อสู้อย่างตัวต่อตัว แพ้ชนะกันด้วยความคล่องแคล่วแกล้วกล้า กับการชำนิชำนาญในการขับขี่ช้างชน โดยมิต้องอาศัยรี้พลหรือกลอุบายแต่อย่างใด เพราะโดยปกติ ในการทำสงครามโอกาสที่จอมทัพทั้งสองฝ่ายจะเข้าใกล้ชิดจนถึงชนช้างกันมีน้อยมาก ดังนั้น กษัตริย์พระองค์ใดกระทำยุทธหัตถีชนะก็จะได้รับการยกย่องว่า มีพระเกียรติยศสูงสุด และแม้แต่ผู้แพ้ก็ได้รับการยกย่องสรรเสริญว่าเป็นนักรบแท้
ในสมัยอยุธยามีการยุทธหัตถี รวม ๓ ครั้ง คือ ครั้งแรกในแผ่นดินสมเด็จพระบรมไตรโลกนาถ พระ อินทราชาพระเจ้าลูกยาเธอได้ชนช้างกับข้าศึกที่นครลำปาง และถูกปืนสิ้นพระชนม์ ครั้งที่สองในแผ่นดินพระมหาจักรพรรดิ ได้ชนช้างกับพระเจ้าแปรกรุงหงสาวดี และสมเด็จพระศรีสุริโยทัย ต้องอาวุธข้าศึกทิวงคต และครั้งที่สาม ก็คือครั้งที่สมเด็จพระนเรศวรมหาราชชนช้างกับพระมหาอุปราชาแห่งกรุงหงสาวดี จนได้รับชัยชนะ ซึ่งยุทธหัตถีครั้งนี้กล่าวกันว่าเป็นครั้งสุดท้ายในประวัติศาสตร์ และเป็นวีรกรรมครั้งสำคัญที่ทำให้พระเกียรติยศของสมเด็จพระนเรศวรมหาราชเป็นที่เลื่องลือไปไกล
หลังจากนั้นเป็นที่น่าอัศจรรย์ว่าไม่มีข้าศึกใดกล้ายกทัพมารุกรานเรานานถึง ๑๕๐ ปี ดังนั้น ในโอกาสครบรอบ ๔๑๕ ปีแห่งวันกระทำยุทธหัตถีจนได้รับชัยชนะ กลุ่มประชาสัมพันธ์ สำนักงานคณะกรรมการวัฒนธรรมแห่งชาติ กระทรวงวัฒนธรรม จึงขอนำพระราชประวัติโดยย่อของสมเด็จพระนเรศวรมหาราชมาเล่าสู่กันฟัง เพื่อเป็นการน้อมรำลึกถึงพระมหากรุณาธิคุณของพระองค์
สมเด็จพระนเรศวรมหาราชทรงเป็นพระมหากษัตริย์ไทยลำดับที่ ๑๘ แห่งราชอาณาจักรศรีอยุธยา เสด็จพระราชสมภพที่เมืองพิษณุโลก เมื่อปีเถาะ พ.ศ. ๒๐๙๘ ทรงมีสมเด็จพระมหาธรรมราชาธิราชเจ้า ซึ่งเป็นพระเจ้าแผ่นดินราชวงศ์สุโขทัยองค์แรกที่ครองกรุงศรีอยุธยาเป็นพระบิดา และมีพระวิสุทธิกษัตรี ผู้เป็นพระราชธิดาของสมเด็จพระมหาจักรพรรดิ และพระสุริโยทัยวีรกษัตรีย์ของไทยเป็นพระมารดา จึงอาจกล่าวได้ว่าสมเด็จพระนเรศวรทรงได้รับพระสายโลหิตความเก่งกล้าสามารถสืบเนื่องมาจากพ่อขุนรามคำแหงมหาราชทางพระชนก และเลือดพระสุริโยทัยซึ่งเป็นสมเด็จพระอัยยิกา(ยาย)ทางพระมารดา ทรงมีพระสุพรรณกัลยา เป็นพระพี่นาง และมีพระเอกาทศรถเป็นพระอนุชา เนื่องจากตลอดระยะเวลาที่เสด็จขึ้นครองราชย์ ๑๕ ปี ตั้งแต่ปีพ.ศ. ๒๑๓๓ จนเสด็จสวรรคตเมื่อวันที่ ๒๕ เมษายน พ.ศ. ๒๑๔๘ ทรงอุทิศเวลาเกือบตลอดรัชสมัยให้กับการศึกสงครามเพื่อเสริมสร้างความมั่นคงและความยิ่งใหญ่ให้กรุงศรีอยุธยาตลอดมา ทำให้ทรงไม่มีพระมเหสีและพระราชโอรสธิดา ดังนั้น เมื่อเสด็จสวรรคต พระเอกาทศรถจึงได้เสด็จขึ้นครองราชย์สืบต่อมา
สมเด็จพระนเรศวรมหาราชเป็นพระมหากษัตริย์ที่ทรงเชี่ยวชาญการรบยิ่ง ทรงฉลาดในการวางแผนยุทธวิธีและอุบายกระบวนศึกที่ไม่เหมือนผู้ใดในสมัยเดียวกัน ทรงเป็นผู้ริเริ่มการรบแบบกองโจร คือ ใช้คนน้อยแต่สามารถต่อสู้กับคนจำนวนมากได้ พระองค์มีความสามารถในการใช้อาวุธที่ทำการรบแทบทุกชนิดอย่างเชี่ยวชาญยากจะหาผู้ใดเสมอเหมือนไม่ว่าจะเป็นปืน ดาบ ทวนหรือง้าว เป็นต้น
ฝีมือการรบของพระองค์นั้นเรียกได้ว่าเก่งกาจจนเป็นที่ครั่นคร้ามแก่ข้าศึกศัตรู ดังปรากฏในพงศาวดารพม่าพอสรุปได้ว่า วันหนึ่งพระเจ้าหงสาวดีนันทบุเรง ทรงตัดพ้อว่า ไม่มีใครที่จะอาสามาสู้รบกับกรุงศรีอยุธยาเลย ทั้งๆที่พระนเรศวรมีรี้พลแค่หยิบมือเดียว แต่ก็ไม่มีใครกล้าไปรบพุ่ง พระยาลอ ขุนนางคนหนึ่ง จึงทูลว่า กรุงศรีอยุธยานั้น สำคัญที่พระนเรศวรองค์เดียว เพราะกำลังหนุ่ม รบพุ่งเข้มแข็งทั้งบังคับบัญชาผู้คนก็สิทธิ์ขาดรี้พลทั้งนายไพร่กลัวพระนเรศวรยิ่งกว่ากลัวความตาย เจ้าให้รบพุ่งอย่างไรก็ไม่คิดแก่ชีวิตด้วยกันทั้งนั้น คนน้อยจึงเหมือนคนมาก ข้อความดังกล่าว เป็นการสะท้อนให้เห็นถึงพระบารมีของสมเด็จพระนเรศวรมหาราชได้อย่างชัดเจนอาจกล่าวได้ว่าตลอดพระชนมชีพของสมเด็จพระนเรศวรมหาราช ไม่เคยทรงอยู่อย่างสะดวกสบายและต้องทรงกระทำการรบมาโดยตลอด กล่าวคือ เมื่อพระชนมายุ ๙ พรรษาก็ต้องไปเป็นตัวประกันที่หงสาวดีอยู่ ๖ ปี ครั้นเสด็จ กลับมากรุงศรีอยุธยาเมื่อพระชนมายุ ๑๕ พรรษา ปีต่อมาพระบิดาก็ส่งไปครองเมืองพิษณุโลก มีอำนาจบัญชาการหัวเมืองฝ่ายเหนือทั้งหมด ได้ทรงจัดฝึกทหารแบบใหม่ พอพระชนมายุ ๑๙ พรรษาทรงยกกองทัพไปพร้อมพระบิดาเพื่อช่วยทัพหลวงกรุงหงสาวดีตีเมืองเวียงจันทร์ ครั้นพระชนมายุ ๒๓ พรรษา ได้ลงเรือไล่ติดตามพระยาจีนตุขุนนางจีนเมืองเขมรที่หนีไป โดยใช้พระแสงปืนยิงต่อสู้ด้วยพระองค์เอง อย่างไม่หวาดหวั่นหรือหลบกระสุนที่ยิงโต้กลับมาเลย จนศัตรูยิงถูกรางพระแสงปืนที่ทรงอยู่แตกไป
วันครู
ความหมายของครู
ครู หมายถึง ผู้อบรมสั่งสอน ผู้ถ่ายทอดความรู้ ผู้สร้างสรรค์ภูมิปัญญา และพัฒนาทรัพยากรมนุษย์เพื่อนำไปสู่ความเจริญรุ่งเรืองของสังคมและประเทศชาติ
ความสำคัญของครู
ในชีวิตของคนเราถือว่า บิดามารดา เป็นผู้มีพระคุณอันสูงสุด เพราะท่านเป็นผู้ให้ชีวิต ให้ความรัก ให้ความเมตตา มีความห่วงใย และเสียสละเพื่อลูก นอกจาก บิดามารดา แล้ว ก็มีครูเป็นผู้มีพระคุณคล้าย บิดามารดา คือ เป็นผู้อบรมสั่งสอนถ่ายทอดวิชาความรู้ให้ รวมทั้งให้ความรัก ความเมตตาต่อศิษย์ทุกคน นับได้ว่าครูเป็นผู้เสียสละที่ไม่แพ้บุพการี
ครูจึงนับเป็นปูชนียบุคคลที่มีความสำคัญอย่างมาก ในการให้การศึกษาเรียนรู้ ทั้งในด้านวิชาการ และประสบการณ์ ตลอดเป็นผู้มีความเสียสละ ดูแลเอาใจใส่ สั่งสอนอบรมให้เด็กได้พบกับแสงสว่างแห่งปัญญา อันเป็นหนทางแห่งการประกอบอาชีพเลี้ยงดูตนเอง รวมทั้งนำพาสังคมประเทศชาติ ก้าวไปสู่ความเจริญรุ่งเรือง ฉะนั้นวันที่ 6 ตุลาคม จึงได้เป็นวันครูสากล เพื่อคนที่เป็นครูทั่วโลกที่เสียสละนำพาเราทุก ๆคน ไปถึงฝั่งฝันนั่นเอง
ประวัติความเป็นมา
วันครู ได้จัดให้มีขึ้นครั้งแรกเมื่อวันที่ 16 มกราคม พ.ศ.2500 สืบเนื่องมาจากการประกาศพระราชบัญญัติครูในราชกิจจานุเบกษาเมื่อปี พ.ศ.2488 ซึ่งระบุให้มีสภาในกระทรวงศึกษาธิการเรียกว่า คุรุสภา เป็นนิติบุคคลให้ครูทุกคนเป็นสมาชิกคุรุสภา โดยมีหน้าที่ในเรื่องของสถาบันวิชาชีพครูในขณะเดียวกัน ก็ทำหน้าที่ให้ความเห็นเรื่องนโยบายการศึกษา และวิชาการศึกษาทั่วไปแก่กระทรวงศึกษาธิการ ควบคุมจรรยาและวินัยของครู รักษาผลประโยชน์ ส่งเสริมฐานะของครู จัดสวัสดิการให้ครู และครอบครัวได้รับความช่วยเหลือตามสมควร ส่งเสริมความรู้ และความสามัคคีของครู
ทุกปีคุรุสภาจะจัดให้มีการประชุมสามัญคุรุสภาประจำปี เพื่อเปิดโอกาสให้ผู้แทนครูทั่วประเทศแถลงผลงานในรอบปีที่ผ่านมา และซักถามปัญหาข้อข้องใจต่างๆ เกี่ยวกับการดำเนินงานของคุรุสภาโดยมีคณะกรรมการอำนวยการคุรุสภา เป็นผู้ตอบข้อสงสัย สถานที่ในการประชุมสมัยนั้นใช้หอประชุมสามัคคยาจารย์ หอประชุมของจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และในระยะหลังใช้หอประชุมคุรุสภา
พ.ศ.2499 ในที่ประชุมสามัญคุรุสภาประจำปี จอมพล ป.พิบูล สงคราม นายกรัฐมนตรี และประธานกรรมการอำนวยการคุรุสภากิตติศักดิ์ ได้กล่าวคำปราศรัยต่อที่ประชุมครูทั่วประเทศว่า
"ที่อยากเสนอในตอนนี้ก็คือว่า เนื่องจากผู้เป็นครูมีบุญคุณเป็นผู้ให้แสงสว่างในชีวิตของเราทั้งหลาย ข้าพเจ้าคิดว่า วันครู ควรมีสักวันหนนึ่งสำหรับให้บรรดาลูกศิษย์ทั้งหลายได้แสดงความเคารพสักการะต่อวันสงกรานต์ เราก็นำเอาอัฐิของผู้มีพระคุณบังเกิดเกล้ามาทำบุญ ทำทาน คนที่สองรองลงไปก็คือครูผู้เสียสละทั้งหลาย ข้าพเจ้าคิดว่าในโอกาสนี้จะขอฝากที่ประชุมไว้ด้วย ลองปรึกษาหารือกันในหลักการ ทุกคนคงจะไม่ขัดข้อง"
จากแนวความคิดนี้ กอปรกับความเห็นของครูที่แสดงออกทางสื่อมวลชนและอื่นๆ ที่ล้วนเรียกร้องให้มีวันครูเพื่อให้เป็นวันแห่งการรำลึกถึงความสำคัญของครูในฐานะที่เป็นผู้เสียสละ ประกอบคุณงามความดีเพื่อประโยชน์ของชาติและประชาชนเป็นอันมาก ในปีเดียวกันที่ให้มีวันครูเพี่อเสนอคณะกรรมการอำนวยการต่อไป โดยได้เสนอหลักการว่า เพื่อจะได้ประกอบพิธีระลึกถึงคุณบูรพจารย์ ส่งเสริมความสามัคคีธรรมระหว่างครูและพื่อส่งเสริมความเข้าใจอันดีระหว่างครูกับประชาชน
คณะมนตรีได้มีมติเมื่อวันที่ 21 พฤศจิกายน 2499 ให้วันที่ 16 มกราคมของทุกปีเป็น วันครู โดยถือเอาวันที่ประกาศพระราชบัญญัติครูในราชกิจจานุเบกษา เมื่อวันที่ 16 มกราคม พ.ศ.2488 เป็น วันครู และให้กระทรวงศึกษาธิการสั่งการให้นักเรียนและครูหยุดในวันดังกล่าว
งานวันครูได้จัดเป็นครั้งแรกเมื่อวันที่ 16 มกราคม พ.ศ.2500 ในส่วนกลางใช้สถานที่ของกรีฑาสถานแห่งชาติเป็นที่จัดงาน ได้กำหนดเป็นหลักการให้มีอนุสรณ์งานวันครูไว้แก่อนุชนรุ่นหลังทุกปี อนุสรณ์ที่สำคัญ คือ หนังประวัติครู หนังสือที่ระลึกวันครู และสิ่งก่อสร้างที่เป็นถาวรวัตถุ
วันเด็กแห่งชาติ
ประวัติวันเด็กแห่งชาติ
งาน วันเด็กแห่งชาติ จัดขึ้นเป็นครั้งแรก เมื่อวันจันทร์แรกของเดือนตุลาคม พ.ศ. 2498 ตามคำเชิญชวนของ นายวี.เอ็ม. กุลกานี ผู้แทนองค์การสหพันธ์เพื่อสวัสดิภาพเด็กระหว่างประเทศแห่งสหประชาชาติ เพื่อให้ประชาชนเห็นความสำคัญและความต้องการของเด็ก และเพื่อกระตุ้นให้เด็กตระหนักถึงบทบาทอันสำคัญของตนในประเทศ โดยปลูกฝังให้เด็กมีส่วนร่วมในสังคม เตรียมพร้อมให้ตนเองเป็นกำลังของชาติรัฐบาลได้จัดให้มีคณะกรรมการจัดงานวันเด็กแห่งชาติขึ้นมาคณะหนึ่ง ทำหน้าที่ประสานงานกับหน่วยงานต่างๆ ทั้งภาครัฐบาล รัฐวิสาหกิจ และเอกชน กำหนดให้มีการฉลองวันเด็กแห่งชาติทั้งในส่วนกลางและส่วนภูมิภาค จุดประสงค์เพื่อให้เด็กทั่วประเทศทั้งในระบบโรงเรียนและ นอกระบบโรงเรียน ได้รู้ถึงความสำคัญของตน เกี่ยวกับสิทธิ หน้าที่ ความรับผิดชอบ ระเบียบวินัย ที่มีต่อตนเองและสังคม มีความยึดมั่นในสถาบันชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์ และการปกครองในระบอบประชาธิปไตย อันมีพระมหากษัตริย์เป็นประมุข
งานวันเด็กแห่งชาติ จัดขึ้นทุกปีในวันจันทร์แรกของเดือนตุลาคมจนถึง พ.ศ. 2506 และใน พ.ศ. 2507 ไม่สามารถจัดงานวันเด็กได้ทัน จึงได้เริ่มจัดอีกครั้งในปี พ.ศ. 2508 โดยเปลี่ยนเป็นวันเสาร์ที่ 2 ของเดือนมกราคม เนื่องจากเห็นว่าเป็นช่วงหมดฤดูฝนและเป็นวันหยุดราชการ จนถึงทุกวันนี้
รวมคำขวัญวันเด็ก
ปี | นายกรัฐมนตรี | คำขวัญ |
---|---|---|
พ.ศ. 2499 | จอมพล ป. พิบูลสงคราม | จงบำเพ็ญตนให้เป็นประโยชน์ต่อผู้อื่นและส่วนรวม |
พ.ศ. 2502 | จอมพล สฤษดิ์ ธนะรัชต์ | ขอให้เด็กสมัยปฏิวัติของข้าพเจ้า จงเป็นเด็กที่รักความก้าวหน้า |
พ.ศ. 2503 | จอมพล สฤษดิ์ ธนะรัชต์ | ขอให้เด็กสมัยปฏิวัติของข้าพเจ้า จงเป็นเด็กที่รักความสะอาด |
พ.ศ. 2504 | จอมพล สฤษดิ์ ธนะรัชต์ | ขอให้เด็กสมัยปฏิวัติของข้าพเจ้า จงเป็นเด็กที่อยู่ในระเบียบวินัย |
พ.ศ. 2505 | จอมพล สฤษดิ์ ธนะรัชต์ | ขอให้เด็กสมัยปฏิวัติของข้าพเจ้า จงเป็นเด็กที่ประหยัด |
พ.ศ. 2506 | จอมพล สฤษดิ์ ธนะรัชต์ | ขอให้เด็กสมัยปฏิวัติของข้าพเจ้า จงเป็นเด็กที่มีความขยันหมั่นเพียรมากที่สุด |
พ.ศ. 2507 | จอมพล ถนอม กิตติขจร | ไม่มีคำขวัญ เนื่องจากงดการจัดงานวันเด็กแห่งชาติ |
พ.ศ. 2508 | จอมพล ถนอม กิตติขจร | เด็กจะเจริญต้องรักเรียนเพียรทำดี |
พ.ศ. 2509 | จอมพล ถนอม กิตติขจร | เด็กที่ดีต้องมีสัมมาคารวะ มานะ บากบั่น และสมานสามัคคี |
พ.ศ. 2510 | จอมพล ถนอม กิตติขจร | อนาคตของชาติจะสุกใส หากเด็กไทยแข็งแรงดีมีความประพฤติเรียบร้อย |
พ.ศ. 2511 | จอมพล ถนอม กิตติขจร | ความเจริญและความมั่นคงของชาติไทยในอนาคต ขึ้นอยู่กับเด็กที่มีวินัย เฉลียวฉลาดและรักชาติยิ่ง |
พ.ศ. 2512 | จอมพล ถนอม กิตติขจร | รู้เรียน รู้เล่น รู้สามัคคี เป็นความดีที่เด็กพึงจำ |
พ.ศ. 2513 | จอมพล ถนอม กิตติขจร | เด็กประพฤติดีและศึกษาดี ทำให้มีอนาคตแจ่มใส |
พ.ศ. 2514 | จอมพล ถนอม กิตติขจร | ยามเด็กจงหมั่นเรียน เพียรกระทำดี เติบใหญ่จะได้มีความสุขความเจริญ |
พ.ศ. 2515 | จอมพล ถนอม กิตติขจร | เยาวชนฝึกตนดี มีความสามารถ |
พ.ศ. 2516 | จอมพล ถนอม กิตติขจร | เด็กดีเป็นศรีแก่ชาติ เด็กฉลาดชาติเจริญ |
พ.ศ. 2517 | นายสัญญา ธรรมศักดิ์ | สามัคคีคือพลัง |
พ.ศ. 2518 | นายสัญญา ธรรมศักดิ์ | เด็กดีคือทายาทของชาติไทย ต้องร่วมใจร่วมพลังสร้างความสามัคคี |
พ.ศ. 2519 | หม่อมราชวงศ์ คึกฤทธิ์ ปราโมช | เด็กที่ต้องการเห็นอนาคตของชาติรุ่งเรือง จะต้องทำตัวให้ดี มีวินัย เสียแต่บัดนี้ |
พ.ศ. 2520 | นายธานินทร์ กรัยวิเชียร | รักชาติ ศาสน์ กษัตริย์ เป็นคุณสมบัติของเยาวชนไทย |
พ.ศ. 2521 | พลเอก เกรียงศักดิ์ ชมะนันทน์ | เด็กดีเป็นศรีแก่ชาติ เด็กฉลาดชาติมั่นคง |
พ.ศ. 2522 | พลเอก เกรียงศักดิ์ ชมะนันทน์ | เด็กไทยคือหัวใจของชาติ |
พ.ศ. 2523 | พลเอก เกรียงศักดิ์ ชมะนันทน์ | อดทน ขยัน ประหยัด เป็นคุณสมบัติของเด็กไทย |
พ.ศ. 2524 | พลเอก เปรม ติณสูลานนท์ | เด็กไทยมีวินัย ใจสัตย์ซื่อ รู้ประหยัด เคร่งครัดคุณธรรม |
พ.ศ. 2525 | พลเอก เปรม ติณสูลานนท์ | ขยันศึกษา ใฝ่หาความรู้ เชิดชูชาติ ศาสน์ กษัตริย์ เป็นคุณสมบัติของเด็กไทย |
พ.ศ. 2526 | พลเอก เปรม ติณสูลานนท์ | รู้หน้าที่ ขยัน ซื่อสัตย์ ประหยัด มีวินัยและคุณธรรม |
พ.ศ. 2527 | พลเอก เปรม ติณสูลานนท์ | รักวัฒนธรรมไทย ใฝ่ดีมีความคิด สุจริตใจมั่น หมั่นศึกษา |
พ.ศ. 2528 | พลเอก เปรม ติณสูลานนท์ | สามัคคี นิยมไทย มีวินัย ใฝ่คุณธรรม |
พ.ศ. 2529 | พลเอก เปรม ติณสูลานนท์ | นิยมไทย มีวินัย ใช้ประหยัด ใจสัตย์ซื่อ ถือคุณธรรม |
พ.ศ. 2530 | พลเอก เปรม ติณสูลานนท์ | นิยมไทย มีวินัย ใช้ประหยัด ใจสัตย์ซื่อ ถือคุณธรรม |
พ.ศ. 2531 | พลเอก เปรม ติณสูลานนท์ | นิยมไทย มีวินัย ใช้ประหยัด ใจสัตย์ซื่อ ถือคุณธรรม |
พ.ศ. 2532 | พลเอก ชาติชาย ชุณหะวัณ | รักชาติ ศาสน์ กษัตริย์ ใจสัตย์ซื่อ ถือคุณธรรม |
พ.ศ. 2533 | พลเอก ชาติชาย ชุณหะวัณ | รักชาติ ศาสน์ กษัตริย์ ใจสัตย์ซื่อ ถือคุณธรรม |
พ.ศ. 2534 | พลเอก ชาติชาย ชุณหะวัณ | รู้หน้าที่ มีวินัย ใฝ่คุณธรรม นำชาติพัฒนา |
พ.ศ. 2535 | นายอานันท์ ปันยารชุน | สามัคคี มีวินัย ใฝ่ศึกษา จรรยางาม |
พ.ศ. 2536 | นายชวน หลีกภัย | ยึดมั่นประชาธิปไตย ร่วมใจพัฒนา รักษาสิ่งแวดล้อม |
พ.ศ. 2537 | นายชวน หลีกภัย | ยึดมั่นประชาธิปไตย ร่วมใจพัฒนา รักษาสิ่งแวดล้อม |
พ.ศ. 2538 | นายชวน หลีกภัย | สืบสานวัฒนธรรมไทย ร่วมใจพัฒนา รักษาสิ่งแวดล้อม |
พ.ศ. 2539 | นายบรรหาร ศิลปอาชา | มุ่งหาความรู้ เชิดชูความเป็นไทย หลีกไกลยาเสพติด |
พ.ศ. 2540 | พลเอก ชวลิต ยงใจยุทธ | รู้คุณค่าวัฒนธรรมไทย ตั้งใจใฝ่ศึกษา ไม่พึ่งพายาเสพติด |
พ.ศ. 2541 | นายชวน หลีกภัย | ขยัน ประหยัด ซื่อสัตย์ มีวินัย |
พ.ศ. 2542 | นายชวน หลีกภัย | ขยัน ประหยัด ซื่อสัตย์ มีวินัย |
พ.ศ. 2543 | นายชวน หลีกภัย | มีวินัย ใฝ่เรียนรู้ คู่คุณธรรม นำประชาธิปไตย |
พ.ศ. 2544 | นายชวน หลีกภัย | มีวินัย ใฝ่เรียนรู้ คู่คุณธรรม นำประชาธิปไตย |
พ.ศ. 2545 | พันตำรวจโท ดร.ทักษิณ ชินวัตร | เรียนให้สนุก เล่นให้มีความรู้ สู่อนาคตที่สดใส |
พ.ศ. 2546 | พันตำรวจโท ดร.ทักษิณ ชินวัตร | เรียนรู้ตลอดชีวิต คิดอย่างสร้างสรรค์ ก้าวทันเทคโนโลยี |
พ.ศ. 2547 | พันตำรวจโท ดร.ทักษิณ ชินวัตร | รักชาติ รักพ่อแม่ รักเรียน รักสิ่งดีๆ อนาคตดีแน่นอน |
พ.ศ. 2548 | พันตำรวจโท ดร.ทักษิณ ชินวัตร | เด็กรุ่นใหม่ ต้องขยันอ่าน ขยันเรียน กล้าคิด กล้าพูด |
พ.ศ. 2549 | พันตำรวจโท ดร.ทักษิณ ชินวัตร | อยากฉลาด ต้องขยันอ่าน ขยันคิด |
พ.ศ. 2550 | พลเอก สุรยุทธ์ จุลานนท์ | มีคุณธรรมนำใจ ใช้ชีวิตพอเพียง หลีกเลี่ยงอบายมุข |
พ.ศ. 2551 | พลเอก สุรยุทธ์ จุลานนท์ | สามัคคี มีวินัย ใฝ่เรียนรู้ เชิดชูคุณธรรม |
พ.ศ. 2552 | นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ | ฉลาดคิด จิตบริสุทธิ์ จุดประกายฝัน ผูกพันรักสามัคคี |
พ.ศ. 2553 | นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ | คิดสร้างสรรค์ ขยันใฝ่รู้ เชิดชูคุณธรรม |
พ.ศ. 2554 | นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ | รอบคอบ รู้คิด มีจิตสาธารณะ |
พ.ศ. 2555 | น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร | สามัคคี มีความรู้คู่ปัญญา คงรักษาความเป็นไทย ใส่ใจเทคโนโลยี |
วันศุกร์ที่ 13 มกราคม พ.ศ. 2555
วันกาชาดไทย
90 ปี ยุวกาชาดไทย
“วันคล้ายวันสถาปนายุวกาชาดไทย ประจำปี 2555”
24 มิถุนายน 2402 นายอังรี ดูนังต์ นักธุรกิจชาวสวิส ได้ผ่านไปพบเห็นความตาย ความเจ็บปวดทรมาน ความลำบากทุกข์ยาก ท่ามกลางการสู้รบกัน ระหว่างกองทัพออสเตรีย และกองทัพฝรั่งเศส ณ สมรภูมิรบเมือง ซอลฟาริโน ประเทศอิตาลี จนเป็นที่มาของการก่อตั้งองค์กรมนุษยธรรมที่ใหญ่ที่สุดในโลก คือ องค์กร ”กาชาด” ดำเนินงานภายใต้หลักการกาชาด 7 ประการ เป็นสำคัญ
ปี พ.ศ. 2436 เกิดกรณีพิพาทระหว่างประเทศสยามกับฝรั่งเศสเรื่องดินแดนฝั่งซ้ายแม่น้ำโขง และวิกฤตการณ์ปากน้ำ มีความรุนแรงมาก ทหารบาดเจ็บล้มตายเป็นจำนวนมาก ไม่มีองค์กรการกุศลใดเข้าช่วยเหลือพยาบาล หรือบรรเทาทุกข์อย่างจริงจัง ท่านผู้หญิงเปลี่ยน ภาสกรวงศ์ ได้กราบบังคมทูล สมเด็จพระนางเจ้าสว่างวัฒนาพระบรมราชเทวีขอให้กราบบังคมทูลขอพระราชทานพระบรมราชานุญาต จากพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว จัดตั้ง “สภาอุณาโลมแดงแห่งชาติสยาม” เมื่อ 26 เมษายน พ.ศ. 2436 (ร.ศ. 112) ต่อมาเปลี่ยนชื่อเป็น สภากาชาดสยาม และ สภากาชาดไทย ในปัจจุบัน ปฏิบัติงานภายใต้หลักการกาชาด 7 ประการ ของสหพันธ์สภากาชาด และสภาเสี้ยววงเดือนแดงระหว่างประเทศ(ICRC) รวมระยะเวลาได้ 119 ปี (พ.ศ. 2555)
ครั้นถึง พ.ศ. 2465 จอมพลสมเด็จเจ้าฟ้าบริพัตรสุขุมพันธ์กรมพระนครสวรรค์ วรพินิต อุปนายกผู้อำนวยการสภากาชาดสยามได้ทรงให้เหตุผลว่า สภากาชาดบางประเทศได้จัดตั้งสภากาชาดสำหรับเด็กขึ้นบ้างแล้ว ปรากฏว่าดำเนินการได้ผลดี เห็นควรที่สภากาชาดสยามจะได้จัดตั้งสภากาชาดสำหรับเด็กขึ้นบ้าง โดยควรใช้โรงเรียนเป็นที่เริ่มต้น จึงได้ฝากงานไว้ให้อยู่ในความดูแลของกระทรวงธรรมการ (กระทรวงศึกษาธิการ)ซึ่งดูแลกิจการลูกเสืออยู่แล้ว โดยสภากาชาดไทยจะเป็นผูรับผิดชอบเรื่องเงินงบประมาณรายจ่ายประจำปี
27 มกราคม พ.ศ. 2465 จึงถือเป็นวันที่ กองอนุสภากาชาด ได้รับการก่อตั้งขึ้นตามข้อบังคับสภากาชาดไทย แก้ไขเพิ่มเติม(ฉบับที่3) ว่าด้วยอนุสภากาชาดสยาม มี จางวางโทเจ้าพระยาไพศาลศิลปศาสตร์ เป็นผู้อำนวยการกอง อนุสภากาชาดสยามคนแรก ดำเนินงานตามวัตถุประสงค์ คือ “เกลี้ยกล่อมเด็กอายุไม่เกิน 18 ปี เป็นสมาชิก ด้วยความประสงค์ที่จะปลูกฝัง เพาะนิสัยให้มีใจเมตตากรุณาต่อมนุษยชาติ ให้เป็นพลเมืองดี มุ่งทำประโยชน์ให้แก่คนหมู่มาก ให้รู้จักทำการงานเป็นกิจจะลักษณะ” ซึ่งต่อมาในปี พ.ศ. 2496 เปลี่ยนชื่อเป็น “อนุกาชาด” ภายหลังพิจารณาเห็นว่า กิจการนี้ควรจะขยายไปจนถึงเยาวชนระดับ อุดมศึกษา ที่มีอายุระหว่าง 7 - 25 ปี จึงได้เปลี่ยนชื่ออีกครั้งเป็น “ยุวกาชาด” ตั้งแต่ปี พ.ศ.2521 จนถึงทุกวันนี้
ปัจจุบัน กิจการ ”ยุวกาชาด” ดำเนินงานร่วมกันโดย 2 หน่วยงาน คือ สำนักงานยุวกาชาด สภากาชาดไทย และ สำนักการลูกเสือ ยุวกาชาดและกิจการนักเรียน สำนักปลัดกระทรวง กระทรวงศึกษาธิการ มุ่งเน้นอบรมให้ความรู้ด้านอนามัย และการบำเพ็ญประโยชน์แก่เยาวชนทั้งในสถานศึกษาและนอกสถานศึกษาสังกัดต่างๆ รวมถึงเยาวชนกลุ่มพิเศษในความรับผิดชอบของหน่วยงาน ต่างๆ อาทิ สำนักงานส่งเสริมการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย กรมราชทัณฑ์ เป็นต้น และเปิดโอกาสให้เยาวชนได้ร่วมกิจกรรมที่สอดคล้องกับภาระกิจแก่นหลัก สภากาชาดไทย คือ บริการทางการแพทย์และสุขภาพอนามัย การบรรเทาทุกข์ผู้ประสพภัยพิบัติ การบริการโลหิต การสังคมสงเคราะห์และการส่งเสริมคุณภาพชีวิตและวัตถุประสงค์สากลของยุวกาชาดทั่วโลก คือ
“ Education for Peace การอบรมเยาวชนให้มีอุดมคติในศานติสุข
Good Health มีความรู้ความชำนาญในการรักษาอนามัยของตนเองและส่งเสริมอนามัยของผู้อื่น
Good Service รู้จักบำเพ็ญตนให้เป็นประโยชน์ต่อผู้อื่น
International Friendship มีสัมพันธภาพที่ดีต่อคนทั่วไป”
จากวัตถุประสงค์ยุวกาชาดสากล ดังกล่าว สภากาชาดไทย ได้นำมาปรับให้เหมาะสมกับสภาพสังคม ความเป็นอยู่ภายในประเทศ เป็นวัตถุประสงค์ของยุวกาชาดไทย คือ
1. มีอุดมการณ์ในศานติสุข มีความจงรักภักดีต่อชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์
2. มีความรู้ ความชำนาญ ในการรักษาอนามัยของตนเองและของผู้อื่นตลอดจนพัฒนาตนเอง ทางร่างกาย จิตใจ คุณธรรม และธำรงค์ไว้ ซึ่งเอกลักษณ์ทางวัฒนธรรมของชาติ
3. มีความรู้ ความเข้าใจในหลักการและอุดมการณ์กาชาด มีคุณธรรม จริยธรรม และมีจิตเมตตา กรุณาต่อเพื่อนมนุษย์
4. บำเพ็ญตนให้เป็นประโยชน์ต่อผู้อื่น ชุมชน สังคม และประเทศชาติ
5. มีจิตสำนึกในการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติ และสิ่งแวดล้อม
6. มีสัมพันธภาพและมิตรภาพที่ดีต่อบุคคลทั่วไป
กลุ่มเป้าหมายของยุวกาชาด โดยจำแนกตามประเภทการศึกษา เพื่อจัดกิจกรรมให้เหมาะสมกับวัยของเด็ก และเยาวชน ดังนี้
1. สมาชิกยุวกาชาด หมายถึงเยาวชนชาย – หญิงอายุระหว่าง 7 - 18 ปี ที่กำลังศึกษาอยู่ในสถานศึกษา หรือเยาวชนที่กำลังศึกษาอยู่ในระดับประถมศึกษาถึงมัธยมศึกษาตอนปลาย และเลือกเรียนยุวกาชาดหลักสูตรการเรียนการสอนยุวกาชาดของกระทรวงศึกษาธิการ
2. อาสายุวกาชาด หมายถึงเยาวชนชาย – หญิง อายุระหว่าง 15 – 25 ปี หรือเยาวชนที่กำลังศึกษาอยู่ในระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย ถึงระดับอุดมศึกษาหรือเทียบเท่า ทั้งในสถานศึกษาและนอกสถานศึกษา ซึ่งมีความสนใจสมัครเป็นอาสายุวกาชาด ได้ผ่านการอบรมหลักสูตรพื้นฐานยุวกาชาด และสังกัดชมรมอาสายุวกาชาด
จะเห็นได้ว่า “ยุวกาชาดไทย” ไม่มีการจำกัดเรื่องเพศและวัย เพราะเยาวชนทุกคนไม่ว่าหญิงหรือชายวัยใด ก็สามารถเข้ามาเรียนรู้หรือมีส่วนร่วมในกิจกรรมยุวกาชาดได้ สามารถช่วยเหลือด้วยจิตอาสา ตามอุดมการณ์ของกาชาด
“วันคล้ายวันสถาปนายุวกาชาดไทย ประจำปี 2555”
24 มิถุนายน 2402 นายอังรี ดูนังต์ นักธุรกิจชาวสวิส ได้ผ่านไปพบเห็นความตาย ความเจ็บปวดทรมาน ความลำบากทุกข์ยาก ท่ามกลางการสู้รบกัน ระหว่างกองทัพออสเตรีย และกองทัพฝรั่งเศส ณ สมรภูมิรบเมือง ซอลฟาริโน ประเทศอิตาลี จนเป็นที่มาของการก่อตั้งองค์กรมนุษยธรรมที่ใหญ่ที่สุดในโลก คือ องค์กร ”กาชาด” ดำเนินงานภายใต้หลักการกาชาด 7 ประการ เป็นสำคัญ
ปี พ.ศ. 2436 เกิดกรณีพิพาทระหว่างประเทศสยามกับฝรั่งเศสเรื่องดินแดนฝั่งซ้ายแม่น้ำโขง และวิกฤตการณ์ปากน้ำ มีความรุนแรงมาก ทหารบาดเจ็บล้มตายเป็นจำนวนมาก ไม่มีองค์กรการกุศลใดเข้าช่วยเหลือพยาบาล หรือบรรเทาทุกข์อย่างจริงจัง ท่านผู้หญิงเปลี่ยน ภาสกรวงศ์ ได้กราบบังคมทูล สมเด็จพระนางเจ้าสว่างวัฒนาพระบรมราชเทวีขอให้กราบบังคมทูลขอพระราชทานพระบรมราชานุญาต จากพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว จัดตั้ง “สภาอุณาโลมแดงแห่งชาติสยาม” เมื่อ 26 เมษายน พ.ศ. 2436 (ร.ศ. 112) ต่อมาเปลี่ยนชื่อเป็น สภากาชาดสยาม และ สภากาชาดไทย ในปัจจุบัน ปฏิบัติงานภายใต้หลักการกาชาด 7 ประการ ของสหพันธ์สภากาชาด และสภาเสี้ยววงเดือนแดงระหว่างประเทศ(ICRC) รวมระยะเวลาได้ 119 ปี (พ.ศ. 2555)
ครั้นถึง พ.ศ. 2465 จอมพลสมเด็จเจ้าฟ้าบริพัตรสุขุมพันธ์กรมพระนครสวรรค์ วรพินิต อุปนายกผู้อำนวยการสภากาชาดสยามได้ทรงให้เหตุผลว่า สภากาชาดบางประเทศได้จัดตั้งสภากาชาดสำหรับเด็กขึ้นบ้างแล้ว ปรากฏว่าดำเนินการได้ผลดี เห็นควรที่สภากาชาดสยามจะได้จัดตั้งสภากาชาดสำหรับเด็กขึ้นบ้าง โดยควรใช้โรงเรียนเป็นที่เริ่มต้น จึงได้ฝากงานไว้ให้อยู่ในความดูแลของกระทรวงธรรมการ (กระทรวงศึกษาธิการ)ซึ่งดูแลกิจการลูกเสืออยู่แล้ว โดยสภากาชาดไทยจะเป็นผูรับผิดชอบเรื่องเงินงบประมาณรายจ่ายประจำปี
27 มกราคม พ.ศ. 2465 จึงถือเป็นวันที่ กองอนุสภากาชาด ได้รับการก่อตั้งขึ้นตามข้อบังคับสภากาชาดไทย แก้ไขเพิ่มเติม(ฉบับที่3) ว่าด้วยอนุสภากาชาดสยาม มี จางวางโทเจ้าพระยาไพศาลศิลปศาสตร์ เป็นผู้อำนวยการกอง อนุสภากาชาดสยามคนแรก ดำเนินงานตามวัตถุประสงค์ คือ “เกลี้ยกล่อมเด็กอายุไม่เกิน 18 ปี เป็นสมาชิก ด้วยความประสงค์ที่จะปลูกฝัง เพาะนิสัยให้มีใจเมตตากรุณาต่อมนุษยชาติ ให้เป็นพลเมืองดี มุ่งทำประโยชน์ให้แก่คนหมู่มาก ให้รู้จักทำการงานเป็นกิจจะลักษณะ” ซึ่งต่อมาในปี พ.ศ. 2496 เปลี่ยนชื่อเป็น “อนุกาชาด” ภายหลังพิจารณาเห็นว่า กิจการนี้ควรจะขยายไปจนถึงเยาวชนระดับ อุดมศึกษา ที่มีอายุระหว่าง 7 - 25 ปี จึงได้เปลี่ยนชื่ออีกครั้งเป็น “ยุวกาชาด” ตั้งแต่ปี พ.ศ.2521 จนถึงทุกวันนี้
ปัจจุบัน กิจการ ”ยุวกาชาด” ดำเนินงานร่วมกันโดย 2 หน่วยงาน คือ สำนักงานยุวกาชาด สภากาชาดไทย และ สำนักการลูกเสือ ยุวกาชาดและกิจการนักเรียน สำนักปลัดกระทรวง กระทรวงศึกษาธิการ มุ่งเน้นอบรมให้ความรู้ด้านอนามัย และการบำเพ็ญประโยชน์แก่เยาวชนทั้งในสถานศึกษาและนอกสถานศึกษาสังกัดต่างๆ รวมถึงเยาวชนกลุ่มพิเศษในความรับผิดชอบของหน่วยงาน ต่างๆ อาทิ สำนักงานส่งเสริมการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย กรมราชทัณฑ์ เป็นต้น และเปิดโอกาสให้เยาวชนได้ร่วมกิจกรรมที่สอดคล้องกับภาระกิจแก่นหลัก สภากาชาดไทย คือ บริการทางการแพทย์และสุขภาพอนามัย การบรรเทาทุกข์ผู้ประสพภัยพิบัติ การบริการโลหิต การสังคมสงเคราะห์และการส่งเสริมคุณภาพชีวิตและวัตถุประสงค์สากลของยุวกาชาดทั่วโลก คือ
“ Education for Peace การอบรมเยาวชนให้มีอุดมคติในศานติสุข
Good Health มีความรู้ความชำนาญในการรักษาอนามัยของตนเองและส่งเสริมอนามัยของผู้อื่น
Good Service รู้จักบำเพ็ญตนให้เป็นประโยชน์ต่อผู้อื่น
International Friendship มีสัมพันธภาพที่ดีต่อคนทั่วไป”
จากวัตถุประสงค์ยุวกาชาดสากล ดังกล่าว สภากาชาดไทย ได้นำมาปรับให้เหมาะสมกับสภาพสังคม ความเป็นอยู่ภายในประเทศ เป็นวัตถุประสงค์ของยุวกาชาดไทย คือ
1. มีอุดมการณ์ในศานติสุข มีความจงรักภักดีต่อชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์
2. มีความรู้ ความชำนาญ ในการรักษาอนามัยของตนเองและของผู้อื่นตลอดจนพัฒนาตนเอง ทางร่างกาย จิตใจ คุณธรรม และธำรงค์ไว้ ซึ่งเอกลักษณ์ทางวัฒนธรรมของชาติ
3. มีความรู้ ความเข้าใจในหลักการและอุดมการณ์กาชาด มีคุณธรรม จริยธรรม และมีจิตเมตตา กรุณาต่อเพื่อนมนุษย์
4. บำเพ็ญตนให้เป็นประโยชน์ต่อผู้อื่น ชุมชน สังคม และประเทศชาติ
5. มีจิตสำนึกในการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติ และสิ่งแวดล้อม
6. มีสัมพันธภาพและมิตรภาพที่ดีต่อบุคคลทั่วไป
กลุ่มเป้าหมายของยุวกาชาด โดยจำแนกตามประเภทการศึกษา เพื่อจัดกิจกรรมให้เหมาะสมกับวัยของเด็ก และเยาวชน ดังนี้
1. สมาชิกยุวกาชาด หมายถึงเยาวชนชาย – หญิงอายุระหว่าง 7 - 18 ปี ที่กำลังศึกษาอยู่ในสถานศึกษา หรือเยาวชนที่กำลังศึกษาอยู่ในระดับประถมศึกษาถึงมัธยมศึกษาตอนปลาย และเลือกเรียนยุวกาชาดหลักสูตรการเรียนการสอนยุวกาชาดของกระทรวงศึกษาธิการ
2. อาสายุวกาชาด หมายถึงเยาวชนชาย – หญิง อายุระหว่าง 15 – 25 ปี หรือเยาวชนที่กำลังศึกษาอยู่ในระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย ถึงระดับอุดมศึกษาหรือเทียบเท่า ทั้งในสถานศึกษาและนอกสถานศึกษา ซึ่งมีความสนใจสมัครเป็นอาสายุวกาชาด ได้ผ่านการอบรมหลักสูตรพื้นฐานยุวกาชาด และสังกัดชมรมอาสายุวกาชาด
จะเห็นได้ว่า “ยุวกาชาดไทย” ไม่มีการจำกัดเรื่องเพศและวัย เพราะเยาวชนทุกคนไม่ว่าหญิงหรือชายวัยใด ก็สามารถเข้ามาเรียนรู้หรือมีส่วนร่วมในกิจกรรมยุวกาชาดได้ สามารถช่วยเหลือด้วยจิตอาสา ตามอุดมการณ์ของกาชาด
สมัครสมาชิก:
บทความ (Atom)